วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยการผ่าตัด

              การรักษาอาการนอนกรนหลักๆ แล้วมี 2 วิธี คือ โดยวิธีการไม่ผ่าตัด ได้แก่ การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงยา หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง การปรับเปลี่ยนท่าทางในนอน หรือท้ายสุดด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) ซึ่งในบางรายใช้ได้ แต่ในบางรายก่อให้เกิดความรำคาญและ ปฎิเสธการใช้ไป
             อีกวิธีนั้นคือการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการตรวจพบสาเหตุของปัญหานั้นว่าเป็นที่ตำแหน่งใด เช่น ถ้าเกิดจากเยื่อบุจมูกบวม ก็สามารถรักษาโดยการจี้เยื่อบุจมูกด้วยคลื่นวิทยุ (RFVTR) เพื่อลดขนาดลง, ถ้าผนังกั้นช่องจมูกคด ก็ผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูก, ถ้ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจในช่องคอ เช่น ทอนซิลโตมาก ก็อาจจะตัดทอนซิลทิ้ง ที่เรียกว่า Tonsillectomy ซึ่งเป็นวิธีแบบดั้งเดิม
             ต่อมาได้มีการพัฒนามีวิธีที่ทันสมัยกว่าคือการผ่าตัดด้วยเลยเซอร์ เพื่อสลายเนื้อเยื่อต่อมทอนซิลให้มีขนาดเล็กลง และเย็บซ่อมแซมต่อมทอนซิลให้มีรูปร่างและทำหน้าที่เป็นปกติ
             ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก เรียกว่า Modified CAPSO technique ร่วมกับการเย็บตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ซึ่งข้อดีของการใช้วิธีนี้คือ ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย เสียเลือดแค่ไม่เกิน 10 cc. ใช้เวลาในการพักผ่อนหลังการรักษาเพียง 1 วัน และแผลในช่องคอหลังผ่าตัดสวยงาม
             การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะสำหรับรักษาผู้มีนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เป็นไม่รุนแรง แต่หากนำมาใช้ร่วมกับการรักษาอื่น เช่น จี้เยื่อบุจมูกด้วยคลื่นวิทยุ (RFVTR) และการใช้เลเซอร์ผ่าตัดสลายเนื้อเยื่อต่อมทอนซิลให้มีขนาดเล็กลง ร่วมกับการเย็บซ่อมแซมต่อนทอนซิล ก็จะสามารถรักษาผู้ที่มีนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดปานกลางถึงรุนแรงได้